เริ่มไปแล้ว กับงาน “แบงค์ค็อก มอเตอร์ไบค์ เฟสติวัล 2016” (BMF 2016) สุดยอดเทศกาลมอเตอร์ไซค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมอเตอร์ไซค์ที่ถูกจบตามองและพูดถึงมากที่สุด คงหนีไม่พ้นกับค่ายปีกนกอย่าง Honda CRF1000L “Africa Twin” 2016 ที่เปิดราคาอย่างเป็นทางการและเปิดรับจองภายในงานแล้ว หลายคนคงอยากรู้แล้วว่า นอกจากหน้าตาที่โดนใจ ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่กันไปแล้ว สรรถนะของมันเป้นอย่างไร วันนี้ ทางเว็บไซต์ของเรา ขอนำเสนอการทดลองขับจากทางสื่อต่างประเทศ อย่าง www.visordown.com มาให้ได้อ่านกันว่า เจ้า Africa Twin มีดียังไงบ้าง
ความประทับใจแรกกับ Honda Africa Twin CRF1000L กับ www.visordown.com
เป็นรถที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์สายลุยกันอย่างมากทีเดียว เมื่อมันได้ทำการประกาศว่าจะผลิตเจ้า Africa Twin โฉมใหม่สำหรับปี 2015-2016 กัน ซึ่งเมื่อก่อนมันเป็นรถแนว ADVENTURE ที่ถือว่ามีชื่อเสียงและประสิทธิภาพมากๆ คันหนึ่งของวงการเลยทีเดียว และในวันนี้ทางเราเองก็ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสเปคของมันแบบเต็มๆ กันมาแล้ว
Africa Twin เป็นชื่อที่ Honda เคยใช้มาแล้วในยุค ’80 และ ’90 กับรถรุ่น XRV650 และ 750 นั่นเอง Africa Twin CRF1000L โมเดลใหม่นี้เป็นรุ่นที่ผลิตขึ้นมาให้เป็นรถจักรยานยนต์แนวแอดเวนเจอร์อย่างแท้จริง หลังจากที่เปิดตัวไปในงาน Eicma เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับมันให้ดีกว่าเดิม แรกเห็นตัวรถดูไม่ใหญ่อย่างที่คิดไว้ แต่น้ำหนักตัวก็ยังใกล้เคียงกับโมเดลพื้นฐานของ R1200GS ที่ 232 กก. ในขณะที่ BMW มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 230 กก. อย่างไรก็ดีเจ้า Africa Twin คันนี้ก็มีขนาดกะทัดรัดกว่า และมีมิติเล็กกว่า R1200GS Adventure ที่มีน้ำหนักตัวที่ 260 กก. และถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาด 30 ลิตรอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
ตัวผมสูง 5 ฟุต 9 นิ้ว สามารทเอาเท้าแตะพื้นได้เกือบเต็มเท้าได้อย่างไม่ยากเย็น ถ้าจะให้เทียบก็คงจะใกล้เคียงกับ BMW G650GS ซึ่งเตี้ยกว่า R1200GS แน่นอน
เบาะของ Africa Twin เป็นแบบปรับระดับความสูงได้มีให้เลือกทั้งแบบต่ำและสูงซึ่งได้แก่เบาะปรับระดับความสูงขนาด 840/820 มม. และ 900/880 มม.
Honda ภูมิใจกับการดีไซน์ตำแหน่งนั่งขับขี่ให้สามารถเอาเท้าแตะพื้นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดวางเครื่องยนต์ให้เป็นแบบ 2 สูบวางขนานแทนที่จะเป็นเครื่องสูบ V เหมือนรุ่นก่อน ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นเพราะช่วงเบาะระหว่างขานั้นแคบจึงทำให้ขาทั้งสองข้างสัมผัสกับพื้นถนนได้ง่ายขึ้น
Africa Twin มาพร้อมกับกำลังเครื่องยนต์ระดับ 94 แรงม้า มากเพียงพอที่จะเข้าแข่งขันรายการแข่งแนวแอดแวนเจอร์ใหญ่ๆ ได้เลยทีเดียว ถึงกระนั้นเจ้า Africa Twin ก็ไม่ใช่รถที่มีความเร็วสูง แต่พละกำลังที่สัมผัสได้นั้นเรียกมาใช้งานได้อย่างไม่ยากเย็นเลย เรียกว่าบิดเป็นมาตั้งแต่เริ่มออกตัวกันเลยที่เดียว ด้วยการตอบสนองจากเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่องให้ความรู้สึกเหมือนกับรถในครอบครัว Honda ตระกูล NC750 ที่โตขึ้น ขึงขังขึ้น และมีพละกำลังมากกว่าเดิม
แน่นอนว่าเครื่องยนต์ของ Africa Twin นี้ไม่มีอะไรเหมือน NC เลยนอกจากข้อเหวี่ยงที่วางตัวแนว 270 องศา และการส่งกำลังที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นมอเตอร์ไซต์ Honda รุ่นใหม่ๆ ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ที่ฮอนด้าใส่ใจในรายละเอียดเพื่อสร้างให้กับรถจักรยานยนต์เจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ทุกรุ่นนั่นเอง
เรดไลน์ของรถคันนี้อยู่ที่รอบเครื่องต่ำกว่า 8,000 รอบต่อนาที นิดหน่อย ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยที่คุณจะขับจนถึงรอบเรดไลน์ บนทางคดเคี้ยว Africa Twin คันนี้ก็มีกำลังมากเหลือเฟือในช่วงความเร็วปานกลางที่จะสามารถส่งคุณจากโค้งสู่โค้งได้ด้วยไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ลงเลย
มีอยู่ช่วงหนึ่ง ยาง Dunlop Trailmax dual-sport เกือบจะเสียการยึดเกาะไปชั่วขณะในระหว่างที่เข้าโค้งความเร็วสูง ผมคิดว่าอาจเป็นเพราะล้อขนาด 21 นิ้วก็ได้ มันเป็นจังหวะที่ทำให้คุณดึงรถขึ้นมาได้หน่อยและคิดว่า: รถทำให้เกิดอาการนี้เองเหรอ?
เบรกหน้าเป็นสเปคเดียวกับ CRF450 Rally ที่ใช้คาลิปเปอร์แบบ 4 พอทของ Nissin ซึ่งทำงานได้ไว ทว่าบางครั้งที่มีการเบรกหนักๆ ด้านหน้ารถก็ยุบตัวลงตามช่วงยุบของโช้คอัพในขณะที่เบรก ABS ทำหน้าที่ของมัน โดยยางด้านหน้าก็พยายามที่จะยึดเกาะถนนไว้ให้ดีที่สุด
ระบบเบรก ABS รวมอยู่ในแพ็คเกจระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีระบบควบคุมการลื่นไถลถึงสามระดับด้วยกัน ซึ่งสามารถเลือกเปิดปิดได้ทั้งคู่ แต่ระบบ ABS สามารถปิดได้แค่ล้อหลังเท่านั้น
การเปลี่ยนการตั้งค่าต่างๆ สามารถทำได้ง่ายด้วยปลายนิ้วสัมผัสแม้ในขณะที่กำลังบิดคันเร่งด้วยก็ยังสามารถเลือกเปลี่ยนระดับการควบคุมการลื่นไถลได้อย่างง่ายๆ เพียงกดปุ่มค้างไว้สามวินาทีแล้วระบบควบคุมการลื่นไถลก็จะปิดการทำงาน ส่วนอีกปุ่มก็ไว้ใช้ปิดระบบ ABS แต่รถต้องจอดนิ่งก่อนถึงจะปิดการทำงานได้
มีเรื่องน่าปวดหัวนิดหน่อยเกียวกับการตั้งค่าเพราะระบบต่างๆ จะกลับสู่ค่าเริ่มต้นทุกครั้งที่ปิดสวิตช์เครื่องยนต์ และถ้าไปกดสวิตช์ดับเครื่องฉุกเฉินละก็ ระบบต่างๆ จะเปลี่ยนกลับไปเป็นค่าที่คุณตั้งไว้ทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่อง
Africa Twin มีรุ่นเกียร์ DCT ให้เลือกใช้ด้วยซึ่งเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบดูอัลคลัตช์ ชนิดเดียวกับที่ติดตั้งใน NC750 และ VFR1200 ซึ่งใช้คลัตช์สองชุดๆ หนึ่งจับเกียร์คู่อีกชุดจับเกียร์เลขคี่ โดยทำงานจับและปล่อยคลัตช์ได้อย่างทันทีสลับกันไปช่วยให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้รวดเร็วและราบรื่น เกียร์ DCT เจนเนอเรชั่นแรกมีโหมดให้เลือกสองโหมดคือ D และ S ในขณะที่เจนเนอเรชั่นที่สองซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันมีให้เลือกถึงสี่โหมดด้วยกันคือ D และโหมด S อีกสามระดับ พร้อมด้วยโหมดแมนนวลซึ่งเป็นโหมดเกียร์ธรรมดาที่ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกเปลี่ยนเกียร์ได้เองง่ายๆ คล้ายกับการเปิดปิดระบบควบคุมการลื่นไถล
เกียร์ DCT เจนเนอเรชั่นที่สอง นับเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่ซึ่งเห็นได้ชัดในรุ่น VFR1200 โหมด D และ S นั้นให้การตอบสนองต่างกันมาก เมื่อขับขี่ในเมืองด้วยโหมด D รถจะใช้เกียร์ห้า ในขณะที่ขับขี่ในโหมด S รถจะเลือกใช้เกียร์สองเมื่อคุณต้องการใช้เกียร์สามและสี่ ดังนั้นโหมด S อีกสองระดับที่เหลือก็จะลดหลั่นการตอบสนองของเครื่องยนต์ลงไปอีกไม่มากก็น้อย ส่วนโหมด S ระดับสูงสุดก็ให้ความสปอร์ตในการขับขี่มากที่สุด และโหมด D รุ่นใหม่นั้นก็เรียนรู้และปรับการส่งกำลังตามพฤติกรรมการขับขี่ด้วย
อย่างไรก็ตามระบบเกียร์นี้ก็ยังไม่เพอร์เฟ็กอยู่ดีสำหรับผมเพราะในโหมด S สูงสุดลากเกียร์ต่ำนานเกินไป และมีแรงเบรกด้วยเครื่องยนต์ไม่เพียงพอในช่วงความเร็วปานกลาง
โหมด S กลางและต่ำ ให้ความรู้สึกที่ดีกว่า แต่บางครั้งก็ยังเลือกใช้เกียร์ผิดอยู่ดี จังหวะแซง ผมจะเปิดคันเร่งมากขึ้นและเชนจ์เกียร์ลงเพื่อให้ได้อัตราเร่งที่ผมต้องการ หลังจากแซงพ้นแล้ว ผมก็จะผ่อนคันเร่งแต่ระบบก็ยังคงวิ่งค้างด้วยเกียร์ต่ำ ซึ่งผมก็อาจจะเชนจ์เกียร์ขึ้นเอง หลังจากวิ่งด้วยความเร็วคงที่ระยะหนึ่งแล้วระบบก็จะเปลี่ยนเกียร์ขึ้นตามจังหวะ แล้วผมก็จะเชนจ์เกียร์ลง
เกียร์ DCT ใน NC750 ตอบสนองได้อย่างดีเยี่ยมเพราะระบบเข้ากับลักษณะเฉพาะของเครื่องยนต์ได้ดี ระบบเกียร์ช่วยยับยั้งไม่ให้รอบเครื่องยนต์แตะโซนเรดไลน์ ให้กำลังแบบเนียนๆ มาเรื่อยๆ ด้วยกำลังม้าสูงสุดที่ 54 แรงม้า ซึ่ง Africa Twin ไม่มีลักณะเด่นในข้อนี้ แต่ด้วยสมรรถนะและกำลังเครื่องยนต์ที่สูงกว่า ผมมั่นใจว่าเกียร์ DCT จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์การขับขี่ที่หาที่ไหนไม่ได้เช่นกัน
เจ้าหน้าที่จาก Honda กล่าวว่าถ้าเราอยู่ในโลกที่ DCT ต้องมาก่อน เกียร์ก็จะเป็นอะไรที่ไม่สะดวกเอาซะเลย ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นไปได้ แต่เราไม่ได้อยู่ในโลกใบนั้น และเกียร์ก็เป็นเหมือนอวัยวะที่ 33 ของไรเดอร์ทุกคน
วันแรกของการทดสอบประกอบด้วยทางลาดยางและถนนลูกรัง ส่วนวันที่สองจะเป็นการทดสอบบนถนนออฟโรด ซึ่งผมจะกล่าวถึงภาพรวมของเกียร์ DCT อีกครั้งหลังจากนั้น Honda กล่าวว่าเกียร์ชุดนี้จะตรวจจับว่ารถกำลังขึ้นเขาหรือลงเขาและใช้เกียร์ต่ำตามความเหมาะสม ซึ่งน่าสนใจไม่น้อย บนทางลูกรัง ผมปล่อยให้เกียร์รับภาระไป ผมจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์บนทางลาดขึ้นเขาและลงเขารวมทั้งทางโค้งแคบๆ ด้วย ผมแค่ชิลล์ๆ กับวิวข้างทางไป ในระดับหนึ่งระบบควบคุมการลื่นไถลปล่อยให้ล้อหลังหมุนฟรีและดีดหินลูกรังทิ้งไว้ข้างหลัง
มิติของ Africa Twin ที่มีขนาดกะทัดรัดช่วยผมไว้ไม่น้อย มันเป็นรถที่เหมาะกับการขับบนทางออฟโรดเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นเหมือนรถเอ็นดูโร่น้ำหนักเบาสำหรับคนขี่ไซส์ปกติแบบผม ผมสนุกกับการขี่ Africa Twin มากซึ่งปัจจัยหนึ่งเป็นเพราะขนาดที่กะทัดรัดแม้ว่าน้ำหนักตัวรถจะไม่ค่อยต่างจากรถในคลาสเดียวกันเท่าไรก็ตาม แต่ก็มีผลทางจิตวิทยาได้เหมือนกัน
เมื่อใกล้หมดวันเราเริ่มขี่ลงเขาที่ลาดชันกว่าเดิม ขรุขระกว่าเดิม และฝุ่นคลุ้งกว่าเดิม ผมยืนคุมเจ้า Africa Twin รุ่นเกียร์ DCT ไว้ในหว่างขาทั้งสองข้างได้อย่างกระชับและมั่นใจ ต้องขอบคุณปุ่มเปลี่ยนเกียร์บนแฮนด์เดิลบาร์ด้วยที่ช่วยให้ผมเปลี่ยนเกียร์ได้ง่ายโดยไม่ต้องพึ่งเท้าซ้ายเลยทำให้ผมควบคุมรถได้ดีกว่าเดิมด้วย
แน่นอนว่า R1200GS มียอดขายถล่มทลายในตลาดแอดเวนเจอร์ไบค์ขนาดใหญ่ ซึ่ง Honda เองก็มุ่งเป้าที่จะเก็บเกี่ยวตลาดในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ทว่าปัญหาส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะภาพลักษณ์ของ GS และลักษณะของ GS ที่ดูไม่ค่อยเหมาะกับออฟโรดเท่าใดนัก เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีแฟน GS คนหนึ่งให้ความเห็นว่าเขาไม่สนใจ Africa Twin เลยเพราะรูปลักษณ์ของรถที่ดูออกไปในแนวออฟโรดมากกว่าออนโรด และเขาก็ไม่ได้หลงใหลกับการขี่บนทางออฟโรดด้วย แต่เขาชื่นขอบสมรรถนะที่ GS มอบให้บนทางแบบออนโรดมากกว่า
เสียงเครื่องยนต์เมื่อคุณเดินเครื่องและขี่ไปเรื่อยๆ มันทำให้ผมนึกถึง NC750 และแน่นอนว่าเสียงไม่เหมือนกับ GS เจ้า Africa Twin เป็นทัวร์เรอร์ชั้นยอดเฉกเช่นเดียวกับ GS เมื่อต้องเดินทางท่องไปบนถนนที่ยาวสุดลูกหูลูกตา ปลายของชิลด์กันลมก็อยู่ในระดับที่เหมาะสมบริเวณคางของผม และแทบไม่รู้สึกถึงการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์เลย ผมไม่รู้ว่า Africa Twin จะแย่งลูกค้าไปจาก GS ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเป็นผม Africa Twin คือตัวเลือกที่ใช่สำหรับผม
ผู้ทดสอบ: Steve Farrell, www.visordown.com
รุ่นรถทดสอบ: Honda CRF1000L Africa Twin
ราคา: £10,499 (£11,299 รุ่น DCT)
เครื่องยนต์: 998cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ สูบคู่ขนาน
กำลัง: 94 แรงม้า ที่ 7,500 รอบต่อนาที
แรงบิด: 72 ปอนด์-ฟุต ที่ 6,000 รอบต่อนาที
น้ำหนัก: 232 กก. (รุ่นที่ไม่ใช้เกียร์ DCT)
โครงรถ: Steel semi-double cradle
ระบบรองรับ: โช้คอัพหน้าแบบหัวกลับปรับระดับได้ขนาด 45 มม. พร้อมช่วงยุบที่ 230 มม. โช้คอัพหลังปรับระดับได้พร้อมช่วงยุบที่ 220 มม.
ระบบเบรก: ดิสก์เบรกหน้าขนาด 310 มม., คาลิปเปอร์เบรกสี่สูบ ดิสก์เบรกหลังขนาด 256 มม.
ล้อ: ล้อซี่ลวดด้านหน้าขนาด 21″ x 2.15″ และด้านหลังขนาด 18″ x 4″
ยาง: ด้านหน้า Dunlop Trailmax 90/90-21 และด้านหลัง 15/70-18 มียางใน
ความสูงเบาะนั่ง: 870 มม. (เบาะโลว์ซีท 850 มม.)
ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง: 18.8 ลิตร
อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอ้างอิง: 61.2 ไมล์ต่อแกลลอน (61.5 ไมล์ต่อแกลลอน สำหรับรุ่นเกียร์ DCT เมื่อขับขี่ในโหมด Drive)
สี: ดำ, เงิน, แดง ‘Victory Red’ หรือ ‘Tricolour’
ขอบคุณที่มา : www.visordown.com